ป้ายริมทางหลวง

การติดตั้งป้ายริมทางหลวง

กรมทางหลวงกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ติดตั้งป้ายแนะนำสถานที่ราชการและเอกชน ดังต่อไปนี้ 

1. ลักษณะกิจการสถานที่สำคัญ 

            สถานที่ราชการและสถานที่เอกชนที่มีประชาชนเดินทางมาติดต่อจำนวนมาก แต่มิใช่การเดินทางมาเป็นประจำ ซึ่งผู้ใช้ทางอาจหลงทางหรือเข้าออกบริเวณนั้นไม่คล่องตัว อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการจราจรติดขัดหรือเกิดอุบัติเหตุได้ สถานที่เหล่านี้ได้แก่ 

            1.1 สถานที่ราชการ 
            1.2 สถานที่เอกชน 
                  (1) สนามกีฬา 
                  (2) ศูนย์การค้า , ตลาดนัด , สถานที่จัดจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) 
                  (3) แหล่งท่องเที่ยว สถานที่พักแรม ที่พักผ่อนหย่อนใจ 
                  (4) สถานศึกษา 
                  (5) โรงพยาบาล 
                  (6) ศาสนสถานทุกศาสนา 
                  (7) นิคมอุตสาหกรรม 
                  (8) มูลนิธิและองค์กรการกุศล 
                  (9) หมุ่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม 
                  (10) สำนักงานพรรคการเมือง 

2. มาตรฐานและการติดตั้งป้าย 

                  ป้ายแนะนำ เพื่อให้ผู้ใช้เส้นทางเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางของสถานที่สำคัญดังกล่าว กำหนดไว้ 3 ประเภท คือ 
                  ก) ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง 
                  ข) ป้ายชี้ทาง 
                  ค) ป้ายแหล่งท่องเที่ยว 

                  ตำแหน่งของป้ายแนะนำสำหรับการนี้ห้ามมิให้ติดตั้งที่ปริเวณทางแยกทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวง ได้ติดตั้งป้ายแนะนำตามมาตราฐานไว้แล้วนั้น 

                  รายละเอียดการใช้ การติดตั้ง และมาตราฐานรูปแบบของป้าย มีดังต่อไปนี้ 

                  2.1 ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง 
                         (1) ป้ายบอกจุดหมายปลายทางที่เป็นสถานที่ราชการ ลักษณะขนาดรูปร่างและสีของป้าย บอกจุดหมายปลายทาง ดังแสดงตามตัวอย่างในรูป 

-ป้ายติดตั้งข้างทาง พื้นสีขาว อักษรและสัญลักษณะ สีดำ
-ป้ายแขวงสูง พื้นสีเขียว อักษรและสัญลักษณ์ สีขาว


                       (2) ป้ายบอกจุดหมายปลายทางที่เป็นสถานที่เอกชน ลักษณะขนาดรูปร่างและสีของป้าย บอกจุดหมายปลายทาง ดังแสดงตามตัวอย่างในรูป

-ป้ายติดตั้งข้างทาง พื้นสีขาว อักษรและสัญลักษณะ สีดำ
-ป้ายแขวงสูง พื้นสีเขียว อักษรและสัญลักษณ์ สีขาว
             การติดตั้ง ให้ติดตั้งบนทางหลวงในระยะ 25 ถึง 150 เมตร ก่อนถึงทางแยกสาธารณะหรือทางเชื่อม ไปสู่สถานที่ดังกล่าว 

                  2.2 ป้ายชี้ทาง 

                  ลักษณะขนาดและรูปร่างของป้ายชี้ทางดังรูป ทั้งนี้อาจบอกระยะทางจากทางแยกถึงสถานที่ดังกล่าว เป็นกิโลเมตร หรือเมตร

 

ป้ายชี้ทางสถานที่ราชการ 
พื้นป้ายสีขาว ตัวอักษรและสัญลักษณ์ สีดำ 


ป้ายชี้ทางสถานที่เอกชน 
พื้นป้ายสีน้ำตาล ตัวอักษรและสัญลักษณ์ สีขาว

3. ข้อกำหนดเงื่อนไข 

                  3.1 กรมทางหลวงจะเป็นผู้พิจารณากำหนดประเภทและมาตรฐานของป้าย รวมทั้งตำแหน่งติดตั้งป้ายที่เหมาะสม 

                  3.2 ผู้ขออนุญาตหรือเจ้าของสถานที่สำคัญ ยกเว้นส่วนราชการ จะต้องเสียค่าเช่าสำหรับการติดตั้งป้าย ดังนี้ 
                         ป้ายชี้ทาง ตำแหน่งละ 6,000.- บาทต่อปี 
                         ป้ายติดตั้งข้างทาง ตำแหน่งละ 10,000.- บาทต่อปี 
                         ป้ายแขวนสูง ชนิดเสาเดียว ตำแหน่งละ 50,000.- บาทต่อปี 

                  3.3 เมื่อป้ายดังกล่าวชำรุดเสียหายไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้ขออนุญาตจะดำเนินการติดตั้งทดแทนใหม่ โดยผู้ขออนุญาตหรือเจ้าของป้ายจะต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด 

                  3.4 ผู้ขออนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในหนังสือขออนุญาต 

                  3.5 กรมทางหลวงสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการขออนุญาตให้ติดตั้งป้ายดังกล่าว โดยมิต้องแจ้งเหตุความจำเป็นใด ๆ ต่อผู้ขออนุญาต 

4. วิธีการขออนุญาต 

                   การขออนุญาตให้ดำเนินการติดตั้งป้ายแนะนำนี้ กรมทางหลวงอาศัยอำนาจตามมาตรา 47 ของพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 โดยกำหนดระเบียบวิธีการและขั้นตอนไว้ดังต่อไปนี้ 

                  1. ให้ผู้ขออนุญาตยื่นความจำนงผ่านหมวดการทาง , แขวงการทาง , สำนักงานบำรุงทาง ซึ่งรับผิดชอบบริเวณทางหลวงนั้น การยื่นขออนุญาตให้มีคำร้อง แบบแปลน และเอกสารสำคัญต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

                       (1) คำขออนุญาตตามมาตรา 47 พรบ. ทางหลวง พ.ศ. 2535 หรือสามารถ ดูได้จากตัวอย่าง Down Load  
                       (2) แบบแปลนที่สังเขปแสดงเส้นทางหลวงและที่ตั้งสถานที่ขออนุญาต มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1: 500 
                       (3) รูปแบบของป้าย , ขนาด, ข้อความ หรือสัญลักษณ์ในป้าย 
                       (4) สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอฯ ในกรณีที่ผู้ขอฯเป็นเอกชน 
                       (5) ในกรณีที่เป็นบริษัท , ห้างหุ้นส่วน ให้แสดงหนังสือการจดทะเบียนบริษัท , ห้างหุ้นส่วนประกอบ และในกรณีที่มีการมอบอำนาจแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจพร้อมตราประทับของผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท , ห้างหุ้นส่วน พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ 
                       (6) เอกสารและแบบแปลนในการขออนุญาตอย่างละ 4 ชุด สำหรับหนังสือมอบอำนาจฉบับแรก ให้ติดอากรราคา 10 บาท

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้