กฏหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างป้าย

พรบ.ควบคุมอาคาร

ป้ายหรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย   ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 

ถือว่า เป็น อาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร

(๑)   ที่ติดหรือตั้งป้ายไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกินหนึ่งตารางเมตร หรือ น้ำหนักรวมทั้งโครงสร้างเกินสิบกิโลกรัม หรือ

(๒)  ที่ติดหรือตั้งห่างจากที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อวัดในทางราบแล้วมีระยะห่างจากที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของป้ายนั้นเมื่อวัดจากพื้นดิน และต้อง

       มีขนาดพื้นที่ หรือ น้ำหนัก  ๔    ลักษณะ คือ

    (๒.๑)  ขนาดความกว้างของป้ายเกิน  ๕๐  เซนติเมตร หรือ

    (๒.๒)  ยาวเกินหนึ่งเมตร หรือ

    (๒.๓)  เนื้อที่ของป้ายเกิน  ๕,๐๐๐  ตารางเซนติเมตร หรือ

    (๒.๔)  มีน้ำหนักของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดตั้งป้ายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินสิบกิโลกรัม 

                                                                                                              ( ที่มา :  พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ )

ข้อกำหนด

กรณีที่ป้ายที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นอาคาร การก่อสร้างป้ายโฆษณา จึงต้องขออนุญาต กับพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้ในการก่อสร้างป้ายหรือสิ่งที่ก่อสร้างเพื่อติดหรือตั้งป้าย ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งต้องสูงไม่เกิน ๖  เมตร จากส่วนสูงสุดของอาคารหรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น

(๒)  ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนพื้นดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลาง ถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นมากที่สุด และมีความยาวของป้ายไม่เกิน  ๓๒   เมตร

(๓)  ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่อาคารให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของอาคารและต้องไม่บังช่องระบายอากาศ หน้าต่าง ประตู หรือทางหนีไฟ

(๔)   ป้ายที่ติดผนังอาคารที่อยู่ริมทางสาธารณะ ให้ยื่นได้โดยไม่ต้องล้ำที่สาธารณะส่วนต่ำสุดของป้ายต้องไม่น้อยกว่า ๓.๒๕ เมตร จากระดับทางเท้าและสูงไม่เกินความสูงของอาคาร

(๕)  ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนที่ดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนน สาธารณะ และสูงไม่เกิน  ๓๐  เมตร มีความยาวไม่เกิน  ๓๒ เมตรและต้องห่างจากที่ดินต่างเจ้าของไม่น้อยกว่า ๔ เมตร

                                                                      ( ที่มา :  (๑) - (๒) กฎกระทรวงฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ.๒๕๔๓ ) ,

                                                                                  (๓) – (๕) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๔๔

ป้ายบนดิน

ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนที่ดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะ ที่อยู่ใกล้ป้ายนั้นมากที่สุด และมีความยาวของป้ายไม่เกิน  ๓๒ เมตร


ระยะห่างที่ดินต่างเจ้าของ

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ.๒๕๔๐)

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒

ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ๔ ข้อ๕ ข้อ๖ ข้อ๗ และข้อ๘ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่๓๓ (พ.ศ.๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

ข้อ๔ ส่วนที่เป็นขอบเขตนอกสุดของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับเหนือพื้นดิน หรือต่ำกว่าระดับพื้นดินต้องห่างจากเขตที่ดินของผู้อื่นหรือถนนสาธารณะไม่น้อยกว่า ๖ เมตร ทั้งนี้ไม่รวมถึงส่วนที่เป็นฐานรากของอาคาร

ข้อ ๔๒ อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งนํ้าสาธารณะ เช่น แม่นํ้า คู คลอง ลำราง หรือ
ลำกระโดง ถ้าแหล่งนํ้าสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า ๑๐ เมตร ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งนํ้าสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า ๓ เมตร แต่ถ้าแหล่งนํ้าสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ ๑๐ เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งนํ้าสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า ๖ เมตร

       สำหรับอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งนํ้าสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขตแหล่งนํ้าสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า ๑๒ เมตร

       ทั้งนี้ เว้นแต่ สะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายนํ้า ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ หรือที่ว่างที่ใช้เป็นที่จอดรถไม่ต้องร่นแนวอาคาร

ป้ายบนอาคาร

-ป้ายหรือสิ่งก่อสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่อาคารต้องไม่บังช่องระบายอากาศ หน้าต่าง ประตู หรือทางหนีไฟ
-ป้ายหรือสิ่งก่อสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของ--ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายต้องสูงไม่เกิน ๖ เมตรจากส่วนสูงสุดของหลังคา หรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น
-สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายให้ทำด้วยวัสดุทนไฟทั้งหมด

ป้ายข้างอาคาร

ป้ายหรือสิ่งก่อสร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่อาคารต้องไม่บังช่องระบายอากาศหน้าต่าง ประตู หรือทางหนีไฟ

ป้ายที่ยื่นจากผนังอาคารให้ยื่นได้ไม่เกินแนวกันสาด และให้สูงได้ไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตรหรือมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน ๒ ตารางเมตร

ป้ายที่ติดตั้งเหนือกันสาดหรือไม่ได้ยื่นจากผนังอาคารให้ติดตั้งได้โดยมีความสูงของป้ายไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตรวัดจากขอบบนของปลายกันสาดนั้นหรือมีพื้นที่ป้ายไม่เกิน ๒ ตารางเมตร

ป้ายที่ติดตั้งใต้กันสาดให้ติดตั้งแนบผนังอาคาร และต้องสูงจากพื้นทางเท่านั้น

   ไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เมตร

ป้ายโฆษณาสำหรับโรงมหรสพให้ติดตั้งขนานกับผนังอาคารโรงมหรสพ แต่จะยื่นห่าง

   จากผนังได้ไม่เกิน ๕๐ เซนติเมตร หรือหากติดตั้งป้ายบนกันสาดจะต้องไม่ยื่นล้ำแนว

   ปลายกันสาดนั้นและความสูงของป้ายทั้งสองกรณีต้องไม่เกินความสูงของอาคาร

สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายให้ทำด้วยวัสดุทนไฟทั้งหมด

ปลูกสร้างอาคารริมทางหลวง

การปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวงบางเส้นทาง โดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๕๒ ลงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๓๕ ตามมาตรา ๔๙ ดังนี้

                     มาตรา ๔๙ เมื่อมีความจำเป็นจะต้องคอบคุมทางเข้าออกทางหลวง เพื่อการจราจรบนทางหลวงเป็นไปโดยรวดเร็วสะดวก หรือเพื่อความปลอดภัยในการจราจรบนทางหลวง

                  ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในที่ดินริมเขตทางหลวงทั้งสายหรือบางส่วน ดังต่อไปนี้ 
           ๑. สร้างหรือดัดแปลงต่อเติมอาคารตามประเภท ชนิด หรือลักษณะที่กำหนดในกฏกระทรวง สถานีบริการน้ำมัน สถานีบริการก๊าซ สถานีบริการล้างหรือตรวจสภาพรถหรือติดตั้งป้ายโฆษณา ภายในระยะไม่เกิน ๑๕ เมตร
จากเขตทางหลว ง

                    ๒. สร้างศูนย์การค้า สนามกีฬา สนามแข่งขัน โรงมหรสพ สถานพยาบาล สถานศึกษา หรือจัดให้มีตลาด ตลาดนัด
งานออกร้าน หรือกิจการอื่นที่ทำให้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก ภายในระยะไม่เกิน ๕๐ เมตร จากเขตทางหลวง 
ทั้งนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวง

                     ในการอนุญาตผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการทางหลวง จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้

                     การกำหนดทางหลวงสายใดทั้งสายหรือบางส่วนที่จะห้ามมิให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ทางหลวงที่ได้ประกาศควบคุมทางเข้าออกตามมาตรา ๔๙ มีดังนี้


หลักเกณฑ์และข้อกำหนดเงื่อนไขในการปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง

๑. การปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวงทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการปลูกสร้างอาคาร ตามพระราชบัญญัติ

ทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๙

       ๑.๑ อาคารพักอาศัย ตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ที่ไม่เกิน ๔ ชั้น อาคารขนาดเล็กทั่ว ๆ ไป แนวกันสาดหรือส่วนที่ยื่นนอกสุด

ของอาคาร ต้องห่างจากเขตทางหลวงไม่น้อยกว่า ๖ เมตร และต้องก่อสร้างเป็นโครงสร้างถนน 

       ๑.๒ อาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรร อาคารสำนักงาน โรงภาพยนตร์ สนามกีฬา

สถานพยาบาล สถานศึกษา ตลาด หรือกิจการอื่น ๆ ที่ทำให้ประชาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากๆ แนวกันสาดหรือส่วนยื่น

นอกสุดของอาคารต้องห่างจากเขตทางหลวงอย่างน้อย ๖ เมตร เพื่อสร้างเป็นถนนและจะต้องมีพื้นที่จอดรถในที่ดินของผู้ขอ

เพียงพอตามหลักเกณฑ์ของกรมทางหลวง และต้องรับผิดชอบในการป้องกันแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยของผู้ใช้

ทางหลวง ดังต่อไปนี้แล้วแต่กรณี เช่น

                    ๑.๒.๑  สร้างสะพานลอยคนเดินข้าม

                    ๑.๒.๒ ขยายช่องจราจรสำหรับการรอเลี้ยวเข้าหรือออกจากพื้นที่ของโครงการ

                    ๑.๒.๓ จัดสร้างที่หยุดรถประจำทางพร้อมศาลาที่พัก 

                    ๑.๒.๔ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง

๑.๒.๕ ติดตั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายจราจร เครื่องหมายจราจรบนผิวทาง เครื่องหมายนำทาง

                     ๑.๒.๖ ขยายเขตทางหลวง

                     ๑.๒.๗ งานอื่น ๆ ที่จำเป็น

                     ๑.๒.๘ และในกรณีที่จะปล่อยน้ำลงสู่เขตทางหลวงจะต้องเป็นน้ำที่ผ่านการบำบัดไม่มีพิษ หรือเน่าเหม็น หรือมี

สารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อม เจ้าของโครงการฯต้องก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย

 ๒. สำหรับริมเขตทางหลวงที่มีพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ในที่ดินริมเขตทางหลวงตาม

พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๔๙

      ๒.๑ อาคารที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดเล็กทั่วไป แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคาร ต้องห่างจากเขต

ทางหลวง ๖ เมตร อาคาร สถานีบริการน้ำมัน - เชื้อเพลิง หรือก๊าซ แท่นจำหน่าย ห่างจากเขตทางหลวง ๖ เมตร

     ๒.๒ อาคารขนาดใหญ่ตามข้อ ๑.๒ แนวกันสาดหรือส่วนยื่นนอกสุดของอาคารต้องห่างจากเขตทางหลวงสำหรับอาคาร

ตึกแถวเว้นระยะ ๖ เมตร สำหรับโรงงาน - อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน อาคารจอดพักยานพาหนะ ห้างสรรพสินค้า

สถานพยาบาล ฯลฯ เว้นระยะ ๑๐ เมตร สำหรับสนามกีฬา สถานศึกษา ตลาด งานออกร้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทำให้ประชาชน

มาชุมนุมกันเป็นจำนวนมากเว้นระยะ ๔๐ เมตร และต้องรับผิดชอบในการป้องกันแก้ไขปัญหาการจราจรและความปลอดภัยตาม

กฎเกณฑ์ของกรมทางหลวงแล้วแต่กรณี ตามข้อ ๑.๒.๑ - ๑.๒.๘

      ๒.๓ ระยะเว้นที่ว่างด้านหน้าต้องก่อสร้างเป็นถนนมีผิวจราจรกว้างไม่น้อยกว่า ๖ เมตร หรือ ๑๐ เมตร แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ระยะ

เว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารดังกล่าวข้างต้นจะต้องไม่น้อยกว่าบทบัญญัติของท้องถิ่น หรือหลักเกณฑ์ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่กำหนด

ไว้โดยเฉพาะ

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้